VDA6.3 Process Audit Part II
|
|
---|---|
VDA 6.3 Process Audit Part IIPosted by on Dec 09, 2018ห่างหายไปนานพอสมควรนะครับ พอดีมีงานงอกงานเงยออกมามากกว่าที่คาด เลยส่งผลให้เวลาที่จะต้องมานั่งเขียนบทความของเราถูกเบียดบังไปบ้าง แต่ก็ยังมีความระลึกถึงทุกท่านที่รอติดตามใน Part นี้อยู่แล้วแอบมาถามหลังไมค์ในเพจของเรากันเนืองแน่น ซึ่งก็เป็นพระคุณอย่างสูงครับถือเป็นความกรุณาที่คอยเตือนคนเขียนด้วยว่า ล่วงเลยเวลาจากพาร์ทแรกมาพอสมควรแล้วเมื่อไหร่จะคลอดกันต่อเสียที เพื่อไม่ให้เสียเวลามากไปกว่านี้เรามาติดตามกันเลยดีกว่าครับ หลักเกณฑ์การให้คะแนนหมวด P2-P7 หรือการตรวจประเมินประจำปี
**ความหมายคำว่า “เกือบทั้งหมด” คือ มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดเกือบทุกข้อย่อย และไม่มีความเสี่ยงเกิดขึ้น เกณฑ์การประเมินผลว่า "ผ่าน" หรือ "ไม่ผ่าน" ในหมวด P2-P7
ซึ่งคะแนน E_G ที่ได้นี้ต้องผ่านสูตรการคำนวณที่ค่อนข้างหนักหนาสาหัสและมีกฎการ Down Grade ตามที่แจ้งไปแล้วในตอนแรกว่า กรณีที่พบหัวข้อใด ๆ ที่มี * แล้วหัวข้อนั้นได้คะแนนน้อยกว่า 6 จะมีปัญหาในตอนสรุปผลเพราะจะเข้าเกณฑ์การ Down Grade ตามที่แจ้งไป อย่างไรก็ตามเมื่อได้ผลคะแนนครบทั้ง 58 หัวข้อแล้วตัวไฟล์โปรแกรมจะทำการคำนวณผลให้โดยอัติโนมัติว่าผลคะแนนอยู่ในระดับใด และผ่านหรือไม่
หลักเกณฑ์การให้คะแนนหมวด P1 หรือการตรวจคัดเลือกผู้ส่งมอบ จะมีการให้คะแนนเป็นสัญลักษณ์สี ซึ่งประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง สีเขียว
เกณฑ์การประเมินผลว่า "ผ่าน" หรือ "ไม่ผ่าน" ในหมวด P1 จะตัดสินผลสรุปรวมเป็นสีเขียว, สีเหลือง และสีแดงเช่นกัน โดย 1) สีเขียว คือ ผ่านการตรวจประเมิน สามารถบรรจุรายชื่อเข้าสู่ ASL/AVL ได้ 2) สีเหลือง คือ ผ่านการตรวจประเมิน แบบมีนัยสำคัญ ต้องติดตามผลต่อไป หรือมีช่วงเวลาอนุมัติให้ซื้อขายเพียงระยะเวลาหนึ่ง เช่น หกเดือนหรือหนึ่งปี 3) สีแดง คือ ไม่ผ่านการตรวจประเมิน ห้ามทำการติดต่อซื้อขายโดยสิ้นเชิง ซึ่งเกณฑ์ในการสรุปว่าผลสุดท้ายจะออกมาเป็นสีไหนนั้น ขึ้นอยุ่กับผลที่ได้ในแต่ละหัวข้อ จากรายการคำถามทั้งหมด 36 รายการ ดังนี้
จากเกณฑ์ดังกล่าวสรุปได้ว่า ถ้ามีการติดสีแดงในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งจาก 36 หัวข้อจะถือว่าไม่ผ่่านการประเมินทันที แต่ถ้าติดสีเหลืองจะต้องนำมาคำนวณว่าเข้าเกณฑ์ข้อใด ดังนั้นตามที่อธิบายไปทั้งหมดแล้วคาดว่าทุกท่านคงได้รับความรู้ด้าน VDA ไปกันพอสมควรนะครับ ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตามเราคงได้รับรู้แล้วว่า VDA คืออะไร, มีข้อกำหนดคร่าว ๆ แต่ละหมวดอย่างไร, หมวดไหนใช้งานประเภทไหน, มีจำนวนหัวข้อในการประเมินกี่หัวข้อและสรุปสุดท้ายก็คือ เกณฑ์ในการให้คะแนนและเกณฑ์ในการตัดสินผลการตรวจประเมิน สุดท้ายนี้ก็คาดหวังว่าบทความเหล่านี้คงเป็นประโยชน์กับทุกท่านพอสมควร พอให้คนเขียนได้อิ่มเอิบใจได้บ้างในการให้ความรู้เป็นวิทยาทานในครั้งนี้และครั้งที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งเราก็ยังไม่หยุดยั้งเพียงเท่านี้นะครับ จะพยายามหาความรู้ต่าง ๆ มานำเสนอให้ทุกท่านได้รับทราบกันต่อไปในโอกาสต่าง ๆ ครับผม |
![]() |